อ่านตรงนี้ได้เลย สำหรับคนที่อยาก เปิดร้านไอศครีม แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร March Cool หาข้อมูลน่าสนใจที่น่าทำตามมาให้แล้ว
1. หาข้อมูลธุรกิจขายไอศครีมกันก่อน
หาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ธุรกิจขายไอศครีม เพื่อจะได้รู้ว่า คู่แข่งของคุณคือใคร? อะไรทำให้ไอศครีมของพวกเขาโดดเด่น? พวกเขาใช้กลยุทธ์การตลาดอะไรในการกระตุ้นยอดขายและความเกี่ยวข้อง พวกเขานำเสนอผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างไร มีบริการจัดส่งหรือมีเพียงนั่งทานในร้าน? มีไอศครีมหลายประเภทหรือประเภทเดียว? และที่ขาดไม่ได้คือ ข้อมูลความต้องการของลูกค้า
2. เลือกว่าจะทำไอศครีมเองหรือซื้อแฟรนไชส์ไอศครีม
ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า อยากเปิดร้านแบบอิสระหรือซื้อ แฟรนไชส์ สักแบรนด์มาถือไว้เลย เพราะถ้าทำเองก็ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดเพื่อสร้างชื่อเสียงของตัวเอง แต่ถ้าเลือกแฟรนไชส์ ทุกอย่างมีแล้ว ลงไปแค่เงิน และได้เข้าถึงการฝึกอบรมทางธุรกิจของแฟรนไชส์จากแฟรนไชส์ แต่ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับในเรื่องมูลค่าที่ต้องจ่ายให้กับแบรนด์แฟรนไชส์นั้นๆ ด้วยนะคะ
3. ลงมือเขียนแผนธุรกิจและแผนการเงิน
สรุปให้ได้ว่า จะขายไอศครีมประเภทไหน รูปแบบการขายเป็นแบบไหน เช่น เปิดร้านเอง หรือใช้แค่แนว Food Truck ออกบูธตามงาน หรือทำขายส่ง มีการจ้างพนักงานไหม แผนการประชาสัมพันธ์ แผนการตลาด รวมถึงประมาณการในเรื่องงบประมาณที่มีและค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยอาจตั้งคำถามเพื่อให้ตัวเองได้ตอบในเรื่องการเงิน เช่น คาดว่าจะมีรายได้เท่าไรใน 5 ปีข้างหน้า? คาดว่าจะคุ้มทุนเมื่อใด? และอย่าลืมศึกษาเรื่องงบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสดด้วย
4. ใบอนุญาตต่างๆ
ในการทำธุรกิจที่ดี ปลอดภัยระยะยาวคือต้องมีการทำงานอย่างเป็นระบบและถูกกฎหมายตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการขอใบอนุญาตทำธุรกิจ การขอใบอนุญาตขายไอศครีมจาก อย. ใบอนุญาตสร้างสุขภาวะ รวมถึงเรื่องของพนักงานที่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฏหมาย เป็นคนไทย หรือต่างด้าว ไม่ผิดกฏหมายแรงงานใช่หรือไม่
5. ค้นหาที่ตั้งร้านไอศครีมของคุณ
ในกรณีที่ต้องการเปิดร้านไอศครีมของตัวเอง การมองหาทำเลที่ตั้งที่ดี ส่งผลดีไปกว่าครึ่งทาง คุณจึงต้องเลือกตำแหน่งที่ถูกต้องในการขายไอศครีม เช่น ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงที่มีเด็กจำนวนมาก หรืออาคารสำนักงานที่มีบริษัทห้างร้านมากมาย เป็นต้น
6. สร้างสรรค์และเลือกเมนูไอศครีมที่ใช่
เมนูเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ เมนูไอศครีมต้องดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย และเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่ไปตั้งร้าน และอย่าลืมนึกถึงผู้บริโภคในหลากหลายกลุ่ม เพื่อให้รสชาติไอศครีมมีความครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น คนแพ้แลคโตสที่ไม่สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมได้ ในขณะที่ผู้ที่เป็นมังสวิรัติไม่ชอบผลิตภัณฑ์จากนม
7. ออกแบบร้านและผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปทางเดียวกัน
ถ้าไม่ถนัดเรื่องการทำแบรนด์ ขอให้ลงทุนหาคนที่เป็นทางด้านนี้เพื่อช่วยสรุปไอเดียของคุณออกมาให้จับต้องได้ และต้องไม่ลืมว่า แม้จะไม่ได้มีหน้าร้าน แต่แพ็คเกจของไอศครีมก็ต้องใส่ใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งข้อดีคือ การช่วยทำให้เกิดภาพจำในตัวสินค้า และสร้างความประทับใจก่อนจะได้ลิ้มลองรสชาติไอศครีมแสนอร่อยของคุณ
8. ช่องทางโซเชียลมีเดีย และการขนส่งต้องดีงามและตอบโจทย์
การลงทุนที่ง่ายที่สุดในการประชาสัมพันธ์ให้คนได้รู้จักร้านคือ ช่องทางโซเชียลมีเดีย และสิ่งที่ต้องมาพร้อมกันในยุคนี้คือ การบริการถึงที่ ดังนั้นการขนส่งต้องดีๆ ตอบโจทย์ได้รวดเร็วพอๆ กับการีใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์และขายสินค้าทางช่องทางออนไลน์