March Cool Industry

รู้จักบรรจุภัณฑ์ก่อนนำเข้าตู้แช่แข็งอุณหภูมิติดลบ

ต่อเนื่องจากบทความ 5 เทคนิคจัดเรียงสินค้าเข้าตู้แช่แข็ง Air Blast Freezer ที่ห้ามพลาด ไปพร้อมๆ กันด้วยบทความนี้ที่จะมาแนะนำผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ หรือกำลังมองหาบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะนำมาแช่ในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิติดลบถึง 40°C

การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะแช่ในตู้แช่แข็งนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ใชเพียงเพื่อให้ใช้งานกับตู้แช่แข็งได้ แต่เพราะบรรจุภัณฑ์นั้นมีผลต่อการคงคุณภาพของอาหาร อายุการเก็บรักษา และความสะดวกในการใช้งาน บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับตู้แช่แข็งจึงจำเป็นต้องมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น…

  1. ปลอดภัยต่ออาหารคือหัวใจสำคัญอันดับแรก ดังนั้นวัสดุที่ใช้จึงต้องไม่ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมาเมื่อสัมผัสกับอาหาร
  2. มีความทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ เนื่องจากต้องอยู่กับบรรยากาศที่เย็นจัด วัสดุที่ใช้ต้องแข็งแรง ทนทานต่อการหดตัว หรือแตกหักเมื่อถูกแช่แข็ง
  1. มีความสามารถในการป้องกันความชื้นได้ดี เพื่อไม่ให้อาหารสูญเสียน้ำหรือดูดซับกลิ่นจากภายนอก
  2. มีความสามารถในการป้องกันการซึมผ่านของอากาศ เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร โดยการลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน

นอกจากนี้ อย่าลืมมองในเรื่องความสะดวกในการใช้งานเสมอ ทั้งการออกแบบที่ใช้งานง่าย สามารถเปิด-ปิดได้สะดวก สนิทและวางซ้อนกันได้ สำหรับประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ แบ่งได้เป็นได้นี้

  1. ถุงพลาสติก ประเภท PE หรือ โพลีเอทิลิน (Polyethylene), PP หรือ โพลีโพพีลิน (Polypropylene) และ PA หรือ โพลีแอไมค์ (Polyamide) ที่มีคุณสมบัติทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ, ป้องกันความชื้น, ราคาถูก  เหมาะสำหรับบรรจุอาหารหลากหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้
  2. ถุงสุญญากาศ ประเภท PE และ PA มีคุณสมบัติป้องกันการสัมผัสกับอากาศ, ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา เหมาะสำหรับบรรจุอาหารที่ต้องการคงความสดใหม่ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล
  3. กล่องพลาสติก ประเภท PP, PET และ C-PET / CPET หรือ คริสตัลลีน โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต ( Crystalline Polyethylene Terephthalate) มีคุณสมบัติทนทาน, ป้องกันการรั่วซึม, สามารถใช้ซ้ำได้ เหมาะสำหรับบรรจุอาหารสำเร็จรูป, อาหารแช่แข็ง
  4. ภาชนะแก้ว เหมาะสำหรับใช้ในตู้แช่แข็ง รวมถึงเตาอบ ไมโครเวฟ เพราะยังมีประโยชน์ในเรื่องการอุ่นและเสิร์ฟได้ในภาชนะเดียว เพราะทนทานต่ออุณหภูมิสูงและต่ำ, ปลอดภัยต่ออาหาร เหมาะสำหรับบรรจุอาหารที่ต้องการความใส สะอาด แต่ข้อควรระวังคือ ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้ขวดแตกหรือแตกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และขวดแก้วบางประเภทอาจไม่เหมาะกับการใช้ในช่องแช่แข็ง จึงควรมองหาขวดแก้วที่ระบุว่าปลอดภัยต่อช่องแช่แข็งโดยเฉพาะ หรือมีระดับการต้านทานอุณหภูมิซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่แช่แข็งเสมอ
  5. ภาชนะโลหะจำพวกถาดสเตนเลส มีความทนทานต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี ไม่แตกหักง่ายเมื่อโดนความเย็นจัด แต่ควรเลือกใช้แบบที่ระบุว่าสามารถใช้กับตู้แช่แข็งได้ หรือหากใช้กับอาหารก็ควรเลือกแบบที่เป็นเกรดใช้สำหรับอาหาร (food grade) จึงปลอดภัยต่อการนำไปแช่ในตู้แช่แข็ง

แม้จะรู้แล้วว่า คุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์สำหรับใช้กับตู้แช่แข็งมีอะไรบ้าง และทำจากวัสดุประเภทใด้ ผู้ประกอบการควร ตรวจสอบว่าบรรจุภัณฑ์นั้นปลอดภัยสำหรับการสัมผัสกับอาหาร ใช่หรือไม่ และเมื่อถึงเวลาบรรจุ ต้องไม่บรรจุอาหารให้แน่นเกินไปอาจทำให้เกิดการอัดตัว เพราะส่งผลต่อคุณภาพของอาหาร ที่สำคัญเช็คให้มั่นใจว่า ได้ปิดผนึกแน่นหนาก่อนนำเข้าแช่ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปในบรรจุภัณฑ์

 การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะแช่ในตู้แช่แข็งนั้นเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายปัจจัย จึงไม่ควรมองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและช่วยรักษาคุณภาพของอาหารได้ดีที่สุดนั่นเอง